การประยุกต์เสาเข็มท่อเหล็กไมโครไพล์เป็นเสาเข็มพลังงานเพื่อถ่ายเทความร้อนจากระบบปรับอากาศในอาคารบ้านพักอาศัย

  • อภินิติ โชติสังกาศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธิติ ชาญชญานนท์
  • อรรถพร วิเศษสินธุ์
  • สกาวรัตน์ สัตยานันท์
  • สินีนาฏ อ่อนคำ
คำสำคัญ: เสาเข็มพลังงาน, การถ่ายเทความร้อนในดิน, อาคารประหยัดพลังงาน

บทคัดย่อ

เสาเข็มพลังงาน ทำหน้าที่สองประการ ได้แก่ (1) รับน้ำหนักอาคาร ส่งถ่ายแรงสู่ชั้นดินฐานรากที่มีความแข็งแรงเพียงพอ ลดการทรุดตัวของอาคาร และ (2) ส่งถ่ายความร้อน (หรือความเย็น) จากระบบปรับอากาศสู่ดิน เนื่องจากดินมีความสามารถถ่ายเทความร้อนดีกว่าอากาศ ในประเทศไทย พบว่าพื้นดินมีอุณหภูมิคงที่ตลอดปีที่ประมาณ 28-30 องศา จึงสามารถใช้ดูดซับความร้อนจากระบบปรับอากาศเพื่อลดการใช้พลังงานในอาคารได้ บทความนี้นำเสนอการประยุกต์เสาเข็มท่อเหล็กไมโครไพล์ขนาด 6 นิ้วเป็นเสาเข็มพลังงานเพื่อถ่ายเทความร้อนจากระบบปรับอากาศจากอาคารบ้านพักอาศัย โดยอธิบายการติดตั้งเสาเข็มพลังงานจำนวน 13 ต้น ที่ความลึก 17-18 เมตร ปลายเข็มอยู่ในชั้นทราย จากผลการทดสอบการตอบสนองทางอุณหภูมิของเสาเข็มพบว่าชั้นดินมีค่าสัมประสิทธิการนำความร้อนประมาณ 1.49-2 วัตต์ต่อเมตรต่อองศาเซลเซียส การวิเคราะห์ในเบื้องต้นคาดว่าเสาเข็มพลังงานนี้สามารถใช้งานกับระบบปรับอากาศขนาด 9000 BTU/hr ได้โดยไม่ทำให้อุณหภูมิโดยรอบเสาเข็มสูงเกิน 6 องศา หากใช้งานตลอด 24 ชม.ติดต่อกัน 6 เดือน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
โชติสังกาศอ., ชาญชญานนท์ธ., วิเศษสินธุ์อ., สัตยานันท์ส. และ อ่อนคำส. 2020. การประยุกต์เสาเข็มท่อเหล็กไมโครไพล์เป็นเสาเข็มพลังงานเพื่อถ่ายเทความร้อนจากระบบปรับอากาศในอาคารบ้านพักอาศัย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE09.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้