การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของการนำเศษอิฐมอญมาใช้เป็นวัสดุทดแทนมวลรวมละเอียดและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วนในงานคอนกรีต
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของการนำเศษอิฐมอญมาใช้ประโยชน์ในการเป็นวัสดุทดแทนมวลรวมละเอียดและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์บางส่วน เศษอิฐมอญบดที่มีขนาดคละใกล้เคียงกับมวลรวมละเอียด ถูกนำมาใช้แทนที่ทรายบางส่วน ในขณะที่เศษอิฐมอญบดขนาดละเอียดที่ผ่านตะแกรงขนาด 325 จะถูกนำมาใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานทดแทน การแทนที่ทรายด้วยเศษอิฐมอญในปริมาณร้อยละ 25 ให้ค่ากำลังอัดสูงกว่าคอนกรีตควบคุมตั้งแต่อายุบ่มที่ 7 วันขึ้นไป ส่วนการศึกษาการแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน พบว่าการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเศษอิฐมอญบดในปริมาณร้อยละ 20 สามารถเร่งการพัฒนากำลังอัดของมอร์ตาร์ให้เทียบเท่ากับมอร์ตาร์ควบคุมอายุบ่ม 28 วัน ในสภาพการบ่มปกติได้ภายใน 24 ชั่วโมงด้วยการบ่มแบบอบไอน้ำ ทั้งนี้น่าจะเกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างซิลิกาที่มีโครงสร้างเป็นผลึกในเศษอิฐมอญกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของปูนซิเมนต์ ภายใต้แรงดันที่สูงของไอน้ำ ซึ่งทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เชื่อมประสานเพิ่มมากขึ้น
จำนวนการดาวน์โหลด
รายการอ้างอิง
[2] Cardoso, F.A., Fernandes, H. C., Pileggi, R.G., Cincotto, M.A., and John, V.M. (2009). Carbide lime and industrial lime characterization. Powder Technology, 195, pp.143-149.
[3] Anderson D., Roy A., Seals R.K., Carledge F.K., Akhter H. and Jones S.C. (2000). A preliminary assessment of the use of an amorphous silica residual as a supplementary cementing material. Cement Concrete Research, 30, 437-445.
[4] Davarz M. and Gunduz L. (2005) Engineering properties of amorphous silica as a new natural pozzolan for use in concrete. Cement Concrete Research, 35, pp. 1251-1261.
[5] Vichan S., Rachan R. and Horpibulsuk, S. (2013). Strength and Microstructure Development in Bangkok clay stabilized with Calcium carbide residue and Biomass ash. Science Asia, 39, pp. 186-193.
[6] Singh, S., Tiwari, A., Nagar, R. and Agrawal V. (2016). Feasibility as potential substitute for natural sand: A comparative study between granite cutting waste and marble slurry. Procedia Environmental Sciences, 35, pp. 571-582.
[7] Balasubramanian, J., Gopal, E. and Periakaruppan, P. (2016). Strength and microstructure of motar with sand substitutes. Gradevinar. 68(1), pp. 41-49.
[8] Jupe, A.C., Wilkinson, A. P., Luke, k. and Funkhouser, G.P. (2008). Class H cement hydration at 180C and high pressure in the presence of added silica. Cement and Concrete Research, 38(5), pp. 660-666.
[9] Luke, K. (2004). Phase studies of pozzolanic stabilized calcium silicate hydrates at 180C. Cement and Concrete Research, 34(9), pp. 1725–1732.
[10] Alawad, O.M., Alhozaimy, A., Jaafar, M.S., Aziz, F. N. A. and Al-Negheimish, A. (2015). Effect of autoclave curing on the microstructure of blended cement mixture incorporating ground dune sand and ground granulated blast furnace slag. Journal of Concrete Structures and Materials, 9(3), pp. 381-390.
[11] Polat, R., Yadollahi, M. M., Aagsoz, A. E. and Arasan., S.(2013). The correlation between aggregate shape and compressive strength of concrete: Digital image processing approach. International Journal of Structural and Civil Engineering Research 2(3), pp. 62–80.
Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์