การประเมินจำนวณจุดขัดแย้งและประสิทธิภาพของทางแยกวงเวียน กรณีศึกษา : วงเวียนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อัครพงษ์ เทพแก้ว สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • รัชฎาพร ธิสาไชย สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.ตาก
  • ธนา น้อยเรือน สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทางแยกวงเวียน, จุดขัดแย้ง, แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค

บทคัดย่อ

ทางแยกวงเวียนถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดจำนวนจุดขัดแย้งบนทางแยกได้ เมื่อเทียบกับทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟในรูปแบบอื่น ๆ และสามารถลดความเร็วของยานพาหนะที่เข้าสู่ทางแยกได้ ในการศึกษานี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อประเมินจุดขัดแย้งที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และประสิทธิภาพด้านการจราจรของทางแยกวงเวียนภายใต้รูปแบบทางแยกในสภาพปัจจุบันและกรณีการปรับปรุงทางแยกวงเวียนในแต่ละรูปแบบ ทางแยกวงเวียนที่เลือกใช้เป็นกรณีศึกษาคือทางแยกวงเวียนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคในการประเมินจำนวนจุดขัดแย้งและประสิทธิภาพด้านการจราจรของทางแยก ซึ่งได้แบ่งการปรับปรุงทางแยกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ทางแยกวงเวียนสภาพปัจจุบัน  2) การเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน 3) การเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน และปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของทางเข้าทางแยก จากผลการศึกษาพบว่า ทางแยกวงเวียนที่มีการเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน และปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของทางเข้าทางแยก มีจำนวนจุดขัดแย้งที่น้อยกว่าการออกแบบทั้ง 2 ลักษณะ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการจราจรของทางแยกวงเวียนได้ดีขั้นอีกด้วย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
เทพแก้ว อ., ธิสาไชย ร., และ น้อยเรือน ธ., “การประเมินจำนวณจุดขัดแย้งและประสิทธิภาพของทางแยกวงเวียน กรณีศึกษา : วงเวียนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่”, ncce27, ปี 27, น. TRL28–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##